25 สิงหาคม 2563

นางสาวบุญยาพร ศรีมงคลชัย

 โรคระบาด Covid-19


โรคโควิด 19 คืออะไร

 •โรคโควิด19 คือโรคติดต่อซึ่งเกิดจากไวรัสโคโรนาชนิดที่มีการค้นพบล่าสุด

• ไวรัสเเละโรคอุบัติใหม่นี้ไม่เป็นที่รู้จักเลยก่อนที่จะมีการระบาดในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีนในเดือนธันวาคมปี2019

•ขณะโรคโควิด19 มีการระบาดใหญ่ไปทั่ว ส่งผลกระทบต่อหลายประเทศทั่วโลก

ต้นกำเนิดของไวรัส

ต้นตอของไวรัสน่าจะมาจากการที่ไวรัสจากสัตว์ตัวกลางระบาดมาสู่คนผู้ป่วยรายเเรกเท่าที่ทราบกัน  เริ่มมีอาการตั้งเเต่วันที่1 ธันวาคม และไม่มีความเชื่อมโยงกับตลาดต้องสงสัยในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน แต่ผู้ป่วยหลายรายอาจมีมาตั้งเเต่ช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนหรือก่อนหน้านั้น มีการเก็บตัวอย่างจากสิ่งเเวดล้อมในตลาดไปส่งตรวจและพบเชื้อไวรัสและพบมากที่สุดในบริเวณที่ค้าสัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงในฟาร์ม  ตลาดอาจเป็นต้นกำเนิดของไวรัส หรืออาจมีบทบาทในการขยายวงของการระบาดในระยะเริ่มเเรก

การเเพร่เชื้อของไวรัส

โรคโควิด19นี้โดยหลักแล้ว แพร่จากคนสู่คนผ่านทางฝอยละอองจากจมูกหรือปากซึ่งขับออกมาเมื่อผู้ป่วย  ไอหรือจาม เรารับเชื้อได้จากการหายใจเอาฝอยละอองเข้าไปจากผู้ป่วย  หรือจากการเอามือไปจับพื้นผิวที่มีฝอยละอองเหล่านั้นเเหละมาจับตามใบหน้า ระยะเวลานับจากการติดเชื้อและการแสดงอาการ (ระยะกักตัว) มีตั้งแต่ 1-14 วัน และมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 5-6 วัน เกิน 97% ของผู้ป่วยเริ่มมีอาการ ภายใน 14 วัน

การเพิ่มจํานวนของไวรัสเกิดขึ้นในระบบ ทางเดินหายใจส่วนบนและในปอด มีงานวิจัยในช่วงแรกระบุว่า การเพิ่มจํานวน ของไวรัสได้ในระบบทางเดินอาหาร แต่การติดต่อโดยระบบทางเดินอาหารยังไม่เป็นที่ ยืนยัน ช่วงพีคของการแพร่เชื้อน่าจะเกิดขึ้นในช่วงแรกที่แสดงอาการและลดลงหลังจากนั้นการแพร่เชื้อก่อนแสดงอาการอาจเกิดขึ้นได้อย่างไรก็ตามหากไม่มีอาการไอ (กลไกหลักในการขับไวรัสออกมา) อาจ จํากัดการแพร่เชื้อในช่วงนั้น


วิธีการการป้องกัน และการดำเนินการของประเทศไทย

เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคโควิด 19ให้ทําตามคําแนะนําดังต่อไปนี ้ 

• อยู่ในบ้าน ออกจากบ้านเมื่อมีเหตุจําเป็ นเท่านั้น (เช่น เพื่อไปรับการรักษาพยาบาล หรือเพื่อไปซื้ออาหาร) 

• รักษาระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตรระหว่างตนเองและบุคคลอื่นตลอดเวลา

 • ล้างมือบ่อย ๆโดยเฉพาะหลังจากการสัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย หรือสิ่งที่อยู่รอบตัวผู้ป่วย เจลแอลกอฮอล์สําหรับล้างมือก็ใช้ได้ผล

 • อย่าสัมผัสดวงตา จมูก หรือปาก 

• หากไม่สบาย ให้สวมหน้ากากผ้าหรือกระดาษ แต่อย่าใช้หน้ากาก N95 เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่มีอยู่อย่างจํากัด และเป็นสิ่งจําเป็นอย่าง ยิ่งต่อบุคลากรด้านสาธารณสุข 

• ผู้ที่มีอาการควรปิดปากเมื่อไอหรือจามด้วยกระดาษทิชชูหรือผ้าแบบใช้แล้วทิ ้ง และล้างมือบ่อยๆ 

• อย่าจับมือ สวมกอด ใช้อุปกรณ์รับประทานอาหารหรืออุปกรณ์ในการสูบบุหรี่ร่วมกับผู้อื่น 

• หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับบุคคลที่แสดงอาการใด ๆ ก็ตามของการป่วยด้วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลัน 

• ทําความสะอาดพื้นผิวในบ้านที่มีการสัมผัสบ่อย ๆ ให้สะอาดอยู่เสมอ สามารถอ่านคําแนะนําเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติและการตกค้างของเชื้อ ไวรัสโรคซาร์สบนพื้นผิวในสภาพแวดล้อมต่างๆ 



การอ่านข้อมูลสถิติการระบาดในปัจจุบัน และแนวโน้มการระบาด โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากกราฟ พร้อมแนบวิดิโอ หรือกราฟมาด้วย

ส่วนในประเทศไทย หลังจากไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อภายในประเทศนับตั้งแต่วันที่ 13 พ.ค. ที่ผ่านมา ปรากฏว่าในวันที่ 3 ก.ย. ที่ผ่านมา พบผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 ในประเทศรายแรก หลังไม่มีรายงานการติดเชื้อนาน 100 วัน โดยเป็นผู้ต้องขังชายในคดียาเสพติด ที่พบการติดเชื้อระหว่างกักกันตัวผู้ต้องขังก่อนส่งตัวเข้าแดนในเรือนจำทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง(บางเขน) ตามปกติ

หลายฝ่ายเชื่อว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อจริงทั่วโลกจะมีมากกว่าตัวเลขข้างต้นที่รวบรวมโดย มหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮอปกินส์

บีบีซีไทย รวบรวมข้อมูลที่ควรรู้เกี่ยวกับการระบาดของโรคโควิด-19 มาสรุปในรูปแบบอินโฟกราฟิก เพื่อให้เข้าใจพัฒนาการของวิกฤตโควิด-19 ที่ยังไม่มีใครคาดได้ว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อใด

สถานการณ์ในประเทศไทย

ในวันที่ 3 ก.ย. ที่ผ่านมา นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า ผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 ในประเทศรายแรก หลังจากไม่มีรายงานการติดเชื้อในประเทศ 100 วัน โดยทางการได้เร่งทำการสอบสวนโรค เพื่อจำกัดการแพร่กระจายของโรคให้น้อยที่สุด และป้องกันการระบาดระลอก 2

ส่วนในภาพรวมล่าสุด ณ วันที่ 6 ก.ย. มีผู้ป่วยยืนยันสะสมทั้งหมด 3,444 ราย ยังรักษาอยู่ในโรงพยาบาล 105 ราย รักษาหายแล้ว 3,281 ราย ส่วนจำนวนผู้เสียชีวิตยังคงที่ 58 ราย

อธิบดีกรมควบคุมโรคได้ตอบคำถามเกี่ยวกับการระบาดระลอกที่ 2 ในประเทศไทยว่า มี 2 ลักษณะคือ 1.พบผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อ ซึ่งขณะนี้ได้พบแล้วในกรณีล่าสุด 2. การระบาด ขณะนี้ทางการกำลังสอบสวนโรค และพยายามควบคุมเพื่อตีกรอบการแพร่กระจายของเชื้อ

การผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ

ศบค. เริ่มผ่อนคลายมาตรการในระยะ 4 ตั้งแต่ 15 มิ.ย. ที่ผ่านมา ด้วยการยกเลิกคำสั่งห้ามออกนอกเคหสถาน (เคอร์ฟิว) และให้กิจกรรม/กิจการเกือบทุกประเภทกลับมาเปิดให้บริการภายใต้ข้อพึงระวังในการปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุข

ในขณะที่ ศบค. ได้ประกาศผ่อนคลายมาตรการระยะที่ 5 แล้วเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งจะเปิดให้สถานบันเทิงประเภทผับ บาร์ คาราโอเกะ อาบอบนวด และโรงน้ำชากลับมาเปิดบริการได้ รวมทั้งผ่อนคลายการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรของชาวต่างชาติบางส่วนแบบจำกัด แต่ยังคง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ต่อไปจนถึงสิ้นเดือน ก.ค.นี้

สำหรับมาตรการผ่อนคลายระยะที่ 6 นั้น ครม.ได้อนุมัติในหลักการแล้วเพื่อให้กลุ่มชาวต่างชาติ 4 กลุ่มสามารถเดินทางเข้ามาในประเทศได้แล้ว อย่างไรก็ตาม ต้องขึ้นอยู่กับความพร้อมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าจะมีความพร้อมหรือไม่ นพ.ทวีศิลป์ระบุว่า หลังจาก ครม.เห็นชอบในหลักการแล้ว สามารถทำได้ทันทีเมื่อพร้อม

ชาวต่างชาติ 4 กลุ่มประกอบด้วย

  • กลุ่มจัดการแสดงสินค้าในราชอาณาจักร เพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
  • กลุ่มชาวต่างชาติเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศ
  • กลุ่มแรงงาน 3 สัญชาติที่จะเข้ามาในอุตสาหกรรมอาหารและก่อสร้าง
  • กลุ่มที่เข้ามารักษาโรค (Medical Wellness) ศัลยกรรมเพื่อความสวยงามและการผดุงครรภ์

อย่างไรก็ตาม กลุ่มต่าง ๆ ข้างต้นจะต้องมีการกักตัว 14 วัน

สถานการณ์การระบาดโรคโควิด-19. ติดเชื้อ: 3,444 เสียชีวิต: 58 หายแล้ว: 3,281.  .

นายอัมพฤณ ไชยสีสัน ม.5/5 เลขที่4

                                                               big data

บิ๊กดาต้า (Big Data) คือคำนิยามของข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ทุกชนิดที่อยู่ในองค์กรของเราไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลบริษัท ข้อมูลลูกค้า Suppliers พฤติกรรมผู้บริโภค Transaction ไฟล์เอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมไปจนถึง รูปภาพ URLs ลิงค์ต่างๆที่คุณเก็บไว้ ฯลฯ ที่มีปริมาณมากจนกระทั่งซอฟต์แวร์ปกติทั่วไปไม่สามารถรองรับการเก็บข้อมูลหรือประมวลผลได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ 

ซึ่งอีกนัยนึง Big Data คือเทคโนโลยีและสถาปัตยกรรมหรือ Platform ไอทีรุ่นใหม่ ซึ่งอาจมาในรูปแบบซอฟต์แวร์ ที่สามารถรองรับการจัดเก็บ การจัดการ กรองเลือกข้อมูล การวิเคราะห์ แสดงผล และการใช้งานข้อมูลที่มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้

คุณลักษณะของ Big Data (4V)Big Data คือ

  1. ที่มีปริมาณมาก (Volume) ปัจจัยข้อแรกแน่นอนว่าคำว่า Big Data มีคำว่า “Big” นั่นก็คือข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งรูปแบบ Online และ Offline ซึ่งส่วนมากแล้วจะมีปริมาณมากกว่าหน่วย TB (Terabyte) ขึ้นไป
  2. มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Velocity) ส่งผ่านข้อมูล Update กันอย่างต่อเนื่อง (Real-time) จนทำให้การวิเคราะห์ง่ายๆแบบ Manual เกิดข้อจำกัด หรือไม่สามารถจับรูปแบบหรือทิศทางของข้อมูลได้
  3. หลากหลายประเภทหรือแหล่งที่มา (Variety) หมายถึงรูปแบบของข้อมูลที่แตกต่างกันออกไป ทั้งในรูปแบบ ตัวอักษร วิดีโอ รูปภาพ ไฟล์ต่างๆ ฯลฯ และหลากหลายแหล่งที่มาเช่น Social Network หรือ Platform E- Commerce ต่างๆ
  4. ยังไม่ผ่านการประมวลผล (Veracity) ยังไม่ผ่านการ Process ให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลดิบ (Raw Data) ที่สามารถใช้สร้างประโยชน์ต่อองค์กรได้ 

ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ที่มีคุณลักษณะข้างต้นนี้ ในอดีตที่ผ่านมายังไม่มีเครื่องมือมารองรับและจัดการ หรือยังไม่เคยนำมารวมกันเพื่อตั้งโจทย์ที่เป็นประโยชน์กับธุรกิจ ค้นหาผลลัพธ์ และผ่านกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลและดูความสัมพันธ์กันด้วยเครื่องมือที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดเป็นข้อมูลที่สามารถใช้งานได้จริง (Information) และเกิดประโยชน์กับธุรกิจ เมื่อบริษัทมีข้อมูลที่พร้อมและมีประโยชน์ ทำให้กระบวนการตัดสินใจของผู้บริหารมีความถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น

แล้วทำไม Big Data ถึงมีความสำคัญ ?

ปัจจุบันอะไรๆก็ Big data แล้วทำไมมันถึงสำคัญ แท้จริงแล้วความสำคัญของ Big data ไม่ได้เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่องค์กรของคุณมีอยู่ แต่เป็นสิ่งที่คุณสามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กรได้อย่างไร

Big Data ช่วยให้คุณสามารถใช้ข้อมูลจากทุกแหล่งที่เป็นไปได้ และวิเคราะห์เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่คุณต้องการ ซึ่งช่วยให้คุณสามารถเข้าใจผู้บริโภคได้มากขึ้น (Customer Insight) ลดต้นทุนได้ ลดเวลาระยะเวลาดำเนินการ และสามารถตัดสินใจได้อย่างแม่นยำมากขึ้น ปัจจุบันหลายบริษัทได้นำ Big Data มาประยุกต์ใช้ในส่วนของการขายและการตลาดของธุรกิจ เครื่องมือที่ใช้สำหรับการรองรับ Big Data แบบที่เราเข้าใจได้ง่ายๆ และเห็นอยู่บ่อยๆ ก็อย่างเช่น Google Analytics หรือ ระบบ ERP เป็นต้น

ขอยกตัวอย่างเช่น บริษัท E-Commerce ชื่อดังของโลก ได้นำ Big Data ไปใช้ในการแนะนำสินค้าแบบอัตโนมัติและปรับราคาสินค้าแบบ Real-time (Pricing Engine) ให้ตรงกับจุดที่ลูกค้าเห็นค่าของสินค้า (Value) และเกิดความเต็มใจที่จะจ่าย โดยอาศัยข้อมูลพฤติกรรมการเข้าชมเว็บไซต์และเลือกซื้อสินค้า ข้อมูลการซื้อในอดีต ข้อมูลการค้นหาข้อมูลการเลือกซื้อสินค้าผ่านทาง Search Engine ราคาสินค้าคู่แข่ง จำนวนสินค้าที่เหลืออยู่ เพื่อเพิ่มยอดขายในกับธุรกิจจากการที่ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น

นางสาวบุญยาพร ศรีมงคลชัย

วิทยาการข้อมูล (𝓭𝓪𝓽𝓪 𝓼𝓬𝓲𝓮𝓷𝓬𝓮)

    ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา น้องๆ อาจเคยได้ยินเกี่ยวกับอาชีพ"นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล" หรือ "𝓭𝓪𝓽𝓪 𝓼𝓬𝓲𝓮𝓷𝓬𝓮" กันมาบ้าง โดยเฉพาะเว็บไซต์หรือสื่อหลายแห่งทั้งไทยและต่างประเทศ ที่เปิดประเด็นว่าเป็นอาชีพสุดฮ็อตที่ทุกองค์กรต้องการตัว อีกทั้งอาชีพนี้ยังได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในสาขาอาชีพที่มาแรงที่สุดแห่งยุค และเป็นอาชีพที่เซ็กซี่ที่สุดในศตวรรษที่ 21 จากผลการสำรวจและวิเคราะห์ของหลายสำนัก

แม้ว่าในประเทศไทยเรา ที่ถือว่าอาชีพและศาสตร์ทางด้านนี้ยังอยู่ในช่วงของการเริ่มต้นและบ่มเพาะบุคลากร แต่น้องๆ ที่สนใจอาชีพนี้ สามารถเรียนรู้และเตรียมตัวเพื่อโอกาสในการทำงานในอนาคตได้ โดยในบทความนี้เราจะมาแนะนำให้น้องๆ รู้จักเทรนด์อาชีพ "นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล" ผ่านภาพประกอบที่เข้าใจง่ายด้านล่างนี้เลย




1 วิทยาการข้อมูล หรือ 𝖉𝖆𝖙𝖆 𝖘𝖈𝖎𝖊𝖓𝖈𝖊 คือ
วิทยาการข้อมูล หรือ𝕕𝕒𝕥𝕒 𝕤𝕔𝕚𝕖𝕟𝕔𝕖 คือ ศาสตร์ที่เกี่ยวกับการจัดการ จัดเก็บ รวบรวม ตรวจสอบ วิเคราะห์ วิจัย และนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปสู่ความรู้ที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง (Actionable knowledge) อย่างเช่น การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ กระบวนการดำเนินงาน ประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจ การวางแผนการตลาด และทิศทางขององค์กรในอนาคต

โดยหลักการแล้ว 𝕕𝕒𝕥𝕒 𝕤𝕔𝕚𝕖𝕟𝕔𝕖 ประกอบขึ้นจากศาสตร์หลักๆ คือ 𝙃𝙖𝙘𝙠𝙞𝙣𝙜 𝙎𝙠𝙞𝙡𝙡 (สกิลเกี่ยวกับ Computer Programimg, Data Base, Big data Technologies)  𝓢𝓽𝓪𝓽𝓲𝓼𝓽𝓲𝓬 & 𝓜𝓪𝓽𝓱 (ทักษะทางคณิตศาสตร์และสถิติศาสตร์)  𝓢𝓾𝓫𝓼𝓽𝓪𝓷𝓽𝓲𝓿𝓮 𝓔𝔁𝓹𝓮𝓻𝓽𝓲𝓼𝓮  (หรือ Domain Knowledge)  𝓟𝓻𝓮𝓼𝓮𝓷𝓽𝓪𝓽𝓲𝓸𝓷 (ทักษะการนำเสนอข้อมูล) และ 𝓥𝓲𝓼𝓾𝓪𝓵𝓲𝔃𝓪𝓽𝓲𝓸𝓷 

Data Science ไม่ใช่ศาสตร์ใหม่ แต่มันคือการนำความรู้เดิมที่มีอยู่มารวมและประยุกต์เข้าด้วยกันจนเกิดเป็นของใหม่ ด้วยลักษณะของข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในโลกปัจจุบัน การเข้ามาของ Internet of Things  หรือ Censor ต่างๆ ตลอดจน Social media ทำให้เกิดเป็นข้อมูลปริมาณมหาศาล และนำมาสู่ Data Science นั่นเอง



2 ผลลัพธ์ที่ได้จาก Data Science 
- ค้นพบสิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อนจากข้อมูลที่ได้
- ได้ Predictive Model เพื่อนำไปปฏิบัติจริง
- สร้าง Data Product ใหม่ๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจ
- ช่วยให้ฝ่ายธุรกิจมีความมั่นใจและสามารถตัดสินใจได้ดีขึ้น

คนทำงานด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล จะนำข้อมูลที่กระจัดกระจายจากแหล่งต่างๆ มาจัดการและวิเคราะห์ เพื่อใช้ประโยชน์ตามโจทย์หรือวัตถุประสงค์การใช้งาน เช่น สร้าง Predictive Model หรือระบบอัลกอริทึมขึ้นมาประมวลผล เพื่อค้นหาอินไซต์เกี่ยวกับผู้ใช้งาน (user) หรือเก็บข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจขององค์กรบริษัท เป็นต้น และนี่คือผลลัพธ์ที่จะได้จาก Data Science



3 ที่มาของตำแหน่ง นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) 
ตำแหน่งงาน Data Scientist ถูกตั้งขึ้นโดย  DJ Patil และ Jeff Hammerbacher ในปี 2008 โดยทั้งคู่เป็น ผู้บุกเบิกการสร้างทีม Data Science ที่ LinkedIn และ Facebook และตอนนี้ DJ Patil ได้รับแต่งตั้งให้เป็น Chief Data Scientist of the United States ไปเรียบร้อย

ในปี 2012 วารสาร Harward Business Review  ตีพิมพ์บทความชื่อ Data Scientist: The Sexiest Job of the 21st Century ทำให้อาชีพนี้กลายเป็น Talk of the town ในวงการธุรกิจและวงการสื่อตั้งแต่นั้นมา และทำให้เกิดความต้องการจ้างงานจากวงการธุรกิจสูง จนขาดแคลนบุคคลากรทางด้านนี้เป็นอย่างมาก ถือเป็นอาชีพที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันในวงการธุรกิจ โดยที่ยังไม่มีการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยจริงจัง




4 ทักษะที่ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) ต้องมี 
นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล ต้องมี ทักษะความรู้แบบสหวิทยาการ (Interdisciplinary) หรือมีองค์ความรู้ในหลากหลายด้าน เช่น ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์และสถิติ การวิเคราะห์ข้อมูล ความเข้าใจทางธุรกิจ ความอยากรู้อยากเห็น ความคิดสร้างสรรค์ และความรู้เฉพาะสาขา (Domain Knowledge) สรุปคือ 
1 ความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science)
2 ความรู้ด้านคณิตศาสตร์และสถิติ (Math&Statistics)
3 ความรู้เฉพาะสาขา (Domain Knowledge)
4 ความอยากรู้อยากเห็นและความคิดสร้างสรรค์ (Curiosity & Creativity)

การจะหาคนที่เป็น Data Scientist หรือคนเดียวที่เก่งทุกอย่างแบบเต็มตัว ไม่ใช่เรื่องง่าย ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการทำงานเป็น ทีม Data Science ที่ประกอบด้วยคนที่เก่งแต่ละด้านมาอยู่ในทีมเดียวกัน

 

5 อยากเป็น Data Scientist ควรเรียนอะไร?  
" ยุคนี้กำลังเปลี่ยนเร็วมาก การแข่งขันจะรุนแรงมากในเรื่องของข้อมูล ผู้แพ้ผู้ชนะจะไม่ได้ถูกตัดสินด้วยขนาดอีกต่อไป แต่จะตัดสินด้วยความสามารถในการใช้ข้อมูล "  ผศ. ดร. ณัฐวุฒิ หนูไพโรจน์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แม้ว่าสถาบันการศึกษาในประเทศไทยยังไม่มีหลักสูตรหรือคณะสาขาที่เกี่ยวกับ Data Science โดยตรง แต่คณะและสถาบันการศึกษาหลายแห่ง อย่างเช่น ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอีกหลายๆ มหาวิทยาลัย ตระหนักถึงความสำคัญของศาสตร์นี้ จนเปิดเป็นรายวิชาเลือกขึ้นมาเพื่อให้น้องๆ นักศึกษาที่สนใจได้เลือกเรียนทางด้านนี้เพิ่มเติมจากสาขาหลัก

สำหรับน้องๆ ที่สนใจและตั้งใจอยากทำงานด้านนี้โดยตรง สามารถเรียนต่อระดับอุดมศึกษาในคณะหรือสาขาที่ช่วยให้เรารู้จักและเข้าใจการจัดการข้อมูลได้หลากหลาย เช่น คณะวิทยาศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะดิจิทัลมีเดีย สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ และคณะอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จากนั้นน้องๆ สามารถเลือกฝึกประสบการณ์ทางด้าน Data Science เพิ่มเติมได้เอง รวมทั้งการเรียนต่อระดับปริญญาโทสาขานี้โดยตรงที่มหาวิทยาลัยในต่างประเทศก็ยิ่งได้เปรียบ



6 Data Science กับอนาคตในตลาดงานประเทศไทย
แม้ว่า การ์ทเนอร์ (Gartner, Inc.) บริษัทวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศระดับโลกบอกว่า จะมีตำแหน่งงานด้านนี้เพิ่มขึ้นกว่า 4.4 ล้านอัตราทั่วโลกภายในปี 2558 แต่จะมีบุคลากรที่พร้อมสำหรับตำแหน่งงานดังกล่าวเพียง 1 ใน 3 เท่านั้น แต่คำถามที่น้องๆ ทุกคนที่สนใจงานนี้รอคอยกันอยู่ก็คือ เรียนจบด้านนี้มาแล้วจะมีงานรองรับในเมืองไทยมากน้อยแค่ไหน? เรานำบทสัมภาษณ์จากรุ่นพี่อย่าง ต้า-วิโรจน์ จิรพัฒนกุล อดีต Data Scientist ของ Facebook ให้สัมภาษณ์ไว้ใน TheMomentum มาฝากเพื่อให้น้องๆ นำไปประกอบการตัดสินใจ

" แม้ว่าสถาบันการศึกษาในประเทศไทยยังไม่มีหลักสูตรเกี่ยวกับวิชานี้หรือตั้งคณะสำหรับด้านนี้โดยตรง แต่สังคมเริ่มตระหนักถึงความสำคัญกันมากขึ้น หลายๆ บริษัทมีความพยายามจะจัดการข้อมูลภายในองค์กรให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินงานที่สุด และปัจจุบันนี้ประเทศไทยมีบริษัทต่างชาติเข้ามาดำเนินการมากมายไม่ว่าธุรกิจกลุ่มไหนก็ต้องตื่นตัวเรื่องการใช้ข้อมูล เพื่อให้ก้าวทันและสร้างความได้เปรียบคู่แข่งในอุตสาหกรรม ทำให้นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลจะเป็นที่ต้องการในทุกบริษัท เพราะเป็นคนที่เข้าใจว่าผู้ใช้งานต้องการอะไร สามารถต่อยอดให้ผลิตภัณฑ์และช่วยกำหนดทิศทางธุรกิจด้วยข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น "